กำลังค้นหา "คอนแทคเลนส์รายเดือน" ?
รีบเลย! ข้อเสนอนี้จะจบลงในอีก:
สั่งซื้อเลยตอนนี้รีบเลย! ข้อเสนอนี้จะจบลงในอีก:
สั่งซื้อเลยตอนนี้คอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้งมีหลายชนิด แบ่งออกตามระยะเวลาการใช้งานทั้งแบบรายวัน แบบราย 2 สัปดาห์ และแบบรายเดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สามารถใช้ได้ในระยะเวลาที่นานที่สุด คิดว่าในที่นี้คงมีใครหลาย ๆ คนที่มีความสนใจอยากจะเปลี่ยนจากการใส่แว่นตามาเป็นการใส่คอนแทคเลนส์รายเดือนกันอยู่บ้างใช่ไหมคะ แต่บางคนอาจจะยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ประเภทนี้มากเท่าที่ควร หรืออยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการเลือกซื้อให้ได้มากขึ้น
ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงจะมาอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเลือกคอนแทคเลนส์รายเดือนที่เหมาะสม รวมถึงการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มีรีวิวจากผู้ใช้งานจริงและสามารถหาซื้อทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ มาให้คุณได้อ่านกันค่ะ หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้และสามารถนำไปเลือกคอนแทคเลนส์รายเดือนที่ตรงกับความต้องการของตัวเองได้ดีที่สุดนะคะ
คอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้งมีหลายชนิด คือ แบบรายวัน, แบบราย 2 สัปดาห์ และแบบรายเดือน เรามาดูกันก่อนนะคะว่า เมื่อเปรียบเทียบกับแบบรายวันและแบบราย 2 สัปดาห์แล้ว คอนแทคเลนส์รายเดือนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ข้อดีที่สุดของคอนแทคเลนส์รายเดือน คือ ความประหยัดค่ะ เรามาเปรียบเทียบราคาในกรณีที่เราซื้อ 1 กล่องสำหรับตาข้างเดียวกันดูค่ะ
ถ้าเราใช้คอนแทคเลนส์รายวัน บรรจุ 30 ชิ้น/กล่อง จะมีราคาประมาณ 800-1,000 บาทต่อ 1 เดือน ส่วนแบบราย 2 สัปดาห์ บรรจุ 6 ชิ้น/กล่อง สามารถใช้ได้ 3 เดือน มีราคาประมาณ 900-1,100 บาท ในขณะที่คอนแทคเลนส์รายเดือนที่บรรจุ 6 ชิ้น/กล่อง สามารถใช้ได้ 6 เดือนในราคา 1,000-1,300 บาท
เมื่อดูจากค่าใช้จ่ายแล้ว จะเห็นได้ว่าคอนแทคเลนส์แบบรายวันและแบบราย 2 สัปดาห์ นั้นมีราคาแตกต่างกันไม่มาก ในขณะที่แบบรายเดือนนั้นจะประหยัดกว่าอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ เวลาเปลี่ยนคอนแทคเลนส์เมื่อครบอายุการใช้งาน แบบรายเดือนนั้นจำได้ง่ายกว่าแบบราย 2 สัปดาห์ค่ะ เช่น ถ้าเราเริ่มใช้ต้นเดือน เดือนถัดไปเราก็เปิดใช้อันใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งนับวัน ดังนั้น แบบรายเดือนน่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่กังวลว่าจะหลงลืมการเปลี่ยนไปใช้เลนส์ใหม่เมื่อครบอายุการใช้งานได้เป็นอย่างดี
คอนแทคเลนส์รายเดือนมีข้อเสีย คือ ต้องดูแลรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ เพราะอายุการใช้งานนาน นอกจากจะต้องชำระล้างสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นในทุกวันแล้ว ปริมาณของสิ่งสกปรกที่เกิดจากการจับตัวของโปรตีนที่เกาะติดบนผิวเลนส์ก็จะยิ่งสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีความจำเป็นที่ต้องล้างเอาคราบโปรตีนดังกล่าวออกไป
การล้างคอนแทคเลนส์ต้องมีการถูเลนส์ด้วยนิ้วมือถึงจะสะอาด หากใช้น้ำยาคอนแทคเลนส์ชนิดที่ระบุไว้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้นิ้วมือถูก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการล้างคอนแทคเลนส์แบบรายเดือน จึงทำให้อาจจะยุ่งยากในการดูแลรักษาในทุกวัน ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ดีแล้ว อาจจะทำให้เกิดเยื่อบุตาถลอกหรือตาอักเสบได้ด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่ไม่ชอบความยุ่งยากหรือไม่มั่นใจว่าจะสามารถทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ได้อย่างพิถีพิถัน ก็ไม่เหมาะที่จะใช้คอนแทคเลนส์ประเภทนี้ค่ะ
หลังจากที่ได้ทราบข้อดีข้อเสียของคอนแทคเลนส์รายเดือนกันไปแล้ว ต่อไปเราจะมาแนะนำจุดที่ต้องพิจารณาเวลาเลือกซื้อคอนแทคเลนส์แบบรายเดือน เพื่อที่คุณจะได้นำไปเลือกคอนแทคเลนส์รายเดือนที่ตรงกับความต้องการของตัวเองได้ดีที่สุดค่ะ
ตอนแทคเลนส์เลนส์มีจุดที่ต้องเช็ก คือ ประเภทของเลนส์, ปริมาณน้ำ และวัสดุของเลนส์ เรามาดูรายละเอียดกันต่อที่ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
คอนแทคเลนส์แบบนิ่มสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภท คือ Group I ถึง Group IV ค่ะ โดยการแบ่ง Group ของคอนแทคเลนส์นี้จะแบ่งจากวัสดุ ว่าเป็นวัสดุแบบมีประจุ (Ionic) หรือไม่มีประจุ (Non-Ionic) และปริมาณน้ำ ว่าเป็นประเภทที่มีสัดส่วนของน้ำสูงหรือปริมาณของน้ำต่ำ ดังนี้
GroupⅠปริมาณน้ำต่ำ ไม่มีประจุ (Non-Ionic)
GroupⅡปริมาณน้ำสูง ไม่มีประจุ (Non-Ionic)
GroupⅢ ปริมาณน้ำต่ำ มีประจุ (Ionic)
GroupⅣ ปริมาณน้ำสูง มีประจุ (Ionic)
ก่อนเลือกซื้อให้ดูตาม Group กันด้วยนะคะ ส่วนรายละเอียดของปริมาณน้ำในคอนแทคเลนส์และวัสดุ ได้รวบรวมมาไว้ในเนื้อหาด้านล่างนี้แล้วค่ะ
จุดต่อไปที่ควรดูก็คือ Water Content หรือปริมาณเปอร์เซนต์ของน้ำ เนื่องจากดวงตามีความบอบบาง การเลือกเลนส์ที่มีความชุ่มชื้นใส่แล้วสบายตานับเป็นสิ่งที่จำเป็นมากค่ะ
เลนส์ที่มีค่า Water Content มากกว่า 50% ถือว่าเป็นเลนส์ที่มีปริมาณน้ำสูง มีจุดเด่นตรงที่ความนิ่ม ใส่แล้วสบายตา แต่ว่าก็เสียความชุ่มชื้นได้เร็วพอสมควร ทำให้พอผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะมีความรู้สึกตาแห้งเกิดขึ้นได้เช่นกัน ในทางตรงกันข้าม เลนส์ที่มีปริมาณน้ำต่ำ หรือที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่า 50% จะมีความรู้สึกแข็งกว่าทำให้ใส่แล้วไม่สบายตาเท่าเลนส์ที่มีปริมาณของน้ำสูง แต่เนื่องจากเลนส์ประเภทนี้สูญเสียความชุ่มชื้นได้ยากกว่า จึงทำให้เกิดความรู้สึกระคายเคืองตาได้น้อยกว่าค่ะ
ด้วยเหตุผลที่อธิบายไว้ทางด้านบน ถ้าเป็นผู้ที่ตาแห้ง ควรเลือกเลนส์ที่มีปริมาณน้ำต่ำ ส่วนผู้ที่ต้องการความสบายตา ขอแนะนำให้เลือกเลนส์ที่มีปริมาณสัดส่วนของน้ำสูงจะดีที่สุดค่ะ
คอนแทคเลนส์ที่ไม่มีประจุ (Non-Ionic) คือ เลนส์ที่ไม่มีอิออนประจุลบหรือบวกฉาบอยู่ มีข้อดี คือ สิ่งสกปรกเกาะติดได้ยาก แต่วัสดุของเลนส์จะมีความแข็ง ในขณะที่คอนแทคเลนส์ที่มีประจุ (Ionic) จะเป็นวัสดุที่อ่อนนุ่ม ใส่สบายตากว่า แต่เพราะมีประจุอยู่จึงทำให้ผิววัสดุเลนส์ดึงดูดสิ่งสกปรกเข้ามาติดได้มากกว่าค่ะ
คอนแทคเลนส์รายเดือนมีอายุการใช้งานที่นาน ดังนั้นควรเลือกแบบที่สิ่งสกปรกเกาะติดสะสมได้ยากจะดีกว่า ส่วนด้านความรู้สึกในการใส่ว่าใส่แล้วสบายตาหรือไม่นั้นอาจจะเลือกได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับผิวตาแต่ละคนค่ะ สำหรับวัสดุของเลนส์ที่แนะนำ ควรเลือกคอนแทคเลนส์ที่ระบุว่าเป็นคอนแทคเลนส์แบบไม่มีประจุ Group I หรือ Group II ค่ะ
Oxygen Transmissibility หรือความสามารถในการผ่านของออกซิเจนของคอนแทคเลนส์ เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ว่าปริมาณออกซิเจนสามารถผ่านได้เท่าใดระหว่างการใส่คอนแทคเลนส์ ยิ่งตัวเลขสูง ยิ่งสามารถส่งผ่านออกซิเจนได้ดีกว่าค่ะ
ในศัพท์ทางเทคนิคจะเป็น DK/L โดย "DK" เป็นตัวเลขบ่งชี้ปริมาณออกซิเจนที่ซึมผ่านได้ของวัสดุ โดยค่าของการผ่านของออกซิเจนในวัสดุแทนด้วยตัว D และความสามารถในการซึมของออกซิเจนและละลายไปในวัสดุนั้น ๆ คือตัว K เมื่อนำค่าของออกซิเจนที่ซึมผ่านได้ในวัสดุ(DK)นำมาหารด้วยความหนาของเลนส์(L)ก็จะได้เป็นค่าความสามารถในการผ่านของออกซิเจนของคอนแทคเลนส์ค่ะ
คอนแทคเลนส์ที่ออกซิเจนสามารถซึมผ่านได้ในปริมาณที่ต่ำนั้น จะทำให้ดวงตาได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจนทำให้กระจกตาได้รับผลกระทบจากการขาดออกซิเจน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับดวงตาที่ร้ายแรงได้ ดังนั้นจึงควรเลือกคอนแทคเลนส์ที่มีความสามารถในการผ่านของออกซิเจนที่สูงจะดีที่สุดค่ะ
คอนแทคเลน์แต่ละแบรนด์นั้นจะมีระดับของค่าสายตาแตกต่างกันไป สำหรับคนที่สายตาไม่ได้สั้นหรือยาวมาก ก็ไม่น่ากังวลค่ะ เพราะส่วนใหญ่จะมีให้เลือกอยู่แล้ว แต่ว่าผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก อาจจะหาได้ยากกว่า จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อด้วยว่าคอนแทคเลนส์แบรนด์ที่เราจะซื้อนั้นมีค่าสายตาตรงกับตาของเราหรือไม่
สำหรับคนที่มีค่าสายตาระดับสูง ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีค่าสายตาที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ให้เช็กกันด้วยนะคะว่า แบรนด์ที่เราใช้อยู่มีการผลิตคอนแทคเลนส์ที่มีค่ามากกว่าค่าสายตาปัจจุบันของเราหรือเปล่า
Base Curve เป็นตัวเลขที่แสดงถึงความโค้งของเลนส์ มักจะเขียนในลักษณะ "BC:8.4" และหน่วยวัดเป็น mm (มิลลิเมตร) ถ้าเราเลือกเลนส์ที่มี Base Curve ที่ไม่ตรงกับดวงตาของเรา จะทำให้เวลาสวมใส่แล้วรู้สึกแปลก ๆ หรือไม่สบายตาได้ การที่จะทราบค่า Base Curve ที่เหมาะสมของตาเราเอง ควรไปตรวจกับจักษุแพทย์จะแม่นยำที่สุดค่ะ
การใส่คอนแทคเลนส์ที่มีค่า Base Curve ไม่เข้ากับดวงตา ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่พบมากในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์แบบชนิดแข็ง ในขณะที่คอนแทคเลนส์รายเดือน เป็นคอนแทคเลนส์แบบนิ่ม ทำให้ค่า Base Curve อาจจะไม่ส่งผลมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม คอนแทคเลนส์รายเดือนมีอายุการใช้งานนานกว่าคอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้งอย่างรายวันและราย 2 สัปดาห์ การเลือก Base Curve ที่เข้ากับดวงตาของเราจะเป็นการดีที่สุดค่ะ
รังสี UV เป็นสิ่งที่เราต้องเจอและเข้าตาของเราในทุก ๆ วัน หากเราไม่มีสิ่งใดที่สามารถปกป้องดวงตาของเราอาจจะทำให้เกิดอาการแสบตา หรือในกรณีที่อาการหนักก็อาจเกิดอาการอักเสบได้ ดังนั้น การเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ที่สามารถตัดรังสี UV ได้ นับเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเช่นกัน เนื่องจากสามารถลดปริมาณรังสี UV ที่จะเข้าตาได้มากถึง 80 - 90% เลยทีเดียวค่ะ
แม้ว่าจะไม่สามารถกันรังสี UV ที่เข้าสู่ดวงตาได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ช่วยในการถนอมดวงตาของเราได้ดีกว่า ดังนั้น หากเป็นไปได้ควรเลือกคอนแทคเลนส์ที่มีคุณสมบัติกันรังสี UV กันนะคะ
เราได้อธิบายวิธีการเลือกคอนแทคเลนส์รายเดือนกันไปแล้ว มาถึงช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์กันแล้วค่ะ คอนแทคเลนส์แบบรายเดือนนั้น อาจจะมีชนิดที่น้อยกว่าคอนแทคเลนส์รายวันหรือราย 2 สัปดาห์ แต่ก็มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ต่างกันไปค่ะ ลองเช็กกันดูนะคะ ว่าแบบไหนเหมาะกับเราที่สุดค่ะ
คอนแทคเลนส์ตัวนี้มีจุดที่เด่นที่สุดคือความชุ่มชื้นที่สูงมาก และวัสดุทำจาก Hilafilcon B เป็นวัสดุแบบ High Water/Nonionic Hydrogel Polymers หรือ Group II ค่ะ ความที่เป็นวัสดุดังกล่าว แม้ความชุ่มชื้นจะสูง นิ่ม ใส่สบาย แต่ก็จะสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายค่ะ ดังนั้น เวลาใส่ควรหยอดน้ำยาหยอดตาเป็นระยะเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกแห้งต่อดวงตา และเนื่องจากไม่มีข้อมูลระบุว่ากันรังสี UV ได้หรือไม่ จึงแนะนำว่าให้สวมแว่นกันแดดเมื่อต้องออกแดดนะคะ
วัสดุที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์ตัวนี้ คือ Ocufilcon D ซึ่งเป็นวัสดุ High Water/Ionic Hydrogel Polymers Group IV ซึ่งมีข้อดีตรงที่มีความชุ่มชื้นและมีความนิ่ม ทำให้ใส่สบายตา นอกจากนี้ยังสามารถกันรังสี UV ได้อีกด้วย ค่าสายตามีให้เลือกได้ตั้งแต่ -0.50 ไปจนถึง -10.00D ค่ะ ได้รับการรีวิวจากผู้ใช้ว่าใส่สบายตา และคุณภาพดีสมราคา มีข้อแนะนำว่าให้ถอดล้างให้สะอาดอย่างพิถีพิถันในทุกวันหลังสวมใส่ด้วยนะคะ เนื่องจากวัสดุเลนส์เป็นแบบ Ionic ที่จะสะสมสิ่งสกปรกได้ค่อนข้างมากนั่นเองค่ะ
สำหรับผู้ที่มีค่าสายตาสูงมาก แน่นอนว่าเวลาใส่แว่นก็จะมีเลนส์ที่มีความหนามากตามไปด้วย อาจจะไม่สะดวกในการสวมใส่ คอนแทคเลนส์สำหรับผู้ที่มีค่าสายตาสูงมากจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการความคล่องตัวที่มากขึ้นในชีวิตประจำวันค่ะ ผลิตภัณฑ์นี้ มีค่าสายตาสำหรับสายตาสั้นตั้งแต่ -10.50 ถึง -20.00 (Step 0.50D) สำหรับค่าสายตายาว มีตั้งแต่ +6.50 ถึง +16.00 (+5.00 Step 0.50D) ซึ่งเป็นระดับค่าสายตาที่หาได้ยากในยี่ห้ออื่น ผู้ที่มีสายตาสั้นมากที่สนใจใส่คอนแทคเลนส์ แนะนำให้ลองใช้กันดูนะคะ
วัสดุที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์รุ่นนี้ คือ Hilafilcon B ซึ่งเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติ High Water/ Non-Ionic จึงทำให้ฝุ่นและคราบสกปรกเกาะติดที่คอนแทคเลนส์ยาก เนื้อเลนส์จะมีความแข็ง ซึ่งก็เป็นจุดเด่นให้คอนแทคเลนส์รุ่นนี้เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังกล้า ๆ กลัว ๆ กับการใส่คอนแทคเลนส์ ช่วยให้มีความสะดวกในการใส่มากยิ่งขึ้น เพราะตัวเลนส์ตั้งรูปร่างเป็นทรงได้ง่ายนั่นเอง และเนื่องจากปริมาณน้ำสูงจึงส่งผลดีใส่แล้วสบายตา แต่เมื่อใส่ไปนาน ๆ อาจทำให้รู้สึกตาแห้งได้ ดังนั้นอาจต้องมีการหยอดน้ำตาเทียมระหว่างวันบ้างเพื่อช่วยให้สบายตามากยิ่งขึ้น ค่าสายตาของรุ่นนี้มีให้เลือกระหว่าง -1.00 ถึง -5.00D และ -5.00 to -9.00D ค่ะ
สำหรับคนที่ตาแห้ง แนะนำให้เลือกคอนแทคเลนส์ที่ทำจากวัสดุ Lotrafilcon B ที่เป็น Silicone Hydrogel วัสดุนี้จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นพร้อมส่งผ่านออกซิเจนในระดับที่ดีกว่าวัสดุชนิดอื่นค่ะ ค่าสายตาของคอนแทคเลนส์รายเดือนรุ่นนี้มีทั้งแบบสำหรับสายตาสั้นและยาว โดยระยะสายตาจะมีค่าอยู่ที่ +6.00D ถึง -8.00D (0.25D Steps) และ -8.50D ถึง -10.00D (0.50D Steps) แต่ว่าคอนแทคเลนส์รุ่นนี้ไม่ได้ระบุว่าสามารถกันรังสี UV ได้หรือไม่ ดังนั้นผู้ที่มีค่าสายตาที่เหมาะกับคอนแทคเลนส์รุ่นนี้ แนะนำว่าให้ใช้ควบคู่กับแว่นกันแดด จะช่วยถนอมดวงตาของเราได้ดีที่สุดค่ะ
Soft Lens อีกหนึ่งรุ่นจาก Maxim เป็นคอนแทคเลนส์ที่ทำจากวัสดุ Ocufilcon D จัดอยู่ใน Group IV หรือ High Water/Ionic Hydrogel Polymers มีข้อดีคือ มีความชุ่มชื้นที่สูง เลนส์นิ่ม ใส่สบายตา นอกจากนี้แล้วยังมีข้อดีอีกข้อ คือ สามารถกันรังสี UV ได้ค่ะ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้รุ่นนี้อยู่ในอันดับสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นจากยี่ห้อเดียวกัน แต่มีข้อเสีย คือ ผลิตจากวัสดุ Ionic จึงทำให้สิ่งสกปรกสามารถเกาะติดได้มากกว่าวัสดุแบบ Non-Ionic ค่ะ จึงแนะนำว่าให้ล้างให้สะอาดที่สุดหลังการใช้ในทุกวันเพื่อสุขภาพของดวงตาด้วยนะคะ
คอนแทคเลนส์ตัวนี้ทำจากวัสดุ Hilafilcon B ที่เป็นวัสดุแบบ High Water/Nonionic Hydrogel Polymers หรือ Group II ค่ะ มีจุดที่เด่น คือเปอร์เซนต์ความชุ่มชื้นที่สูงมาก พร้อมกับการผสานเทคโนโลยีในวัสดุเพื่อความคมชัดและไม้ให้โปรตีนเกาะสะสมที่ตัวเลนส์ และรุ่นนี้ไม่มีระบุการปกป้องรังสี UV ค่ะ จึงแนะนำให้ใช้งานด้วยความระมัดระวัง นอกจากนี้แม้ว่าผลิตภัณฑ์นี้จะเคลมว่าสิ่งสกปรกเกาะติดสะสมได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะปล่อยปละละเลยการล้าง รักษาความสะอาดได้นะคะ เพื่อสุขภาพของดวงตาคู่สำคัญของเราค่ะ
จุดเด่นของคอนแทคเลนส์รายเดือนรุ่นนี้คือ ใส่สบายตาตลอดทั้งวัน ด้วยเทคโนโลยี MoistureSeal ที่สามารถเก็บกักความชื้นในตัวเลนส์ได้ 95% ยาวนานถึง 16 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีค่า Dk/t สูง ออกซิเจนสามารถผ่านได้ ทำให้ใส่แล้วสบายตา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องทำงานที่ใช้สายตามากในทุกวัน แต่จะมีข้อเสีย คือ ไม่ได้ระบุว่าสามารถกันรังสี UV ได้ ดังนั้นควรสวมแว่นกันแดดเป็นประจำ และสำหรับผู้ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ในระยะเวลาที่นาน ควรใช้แว่นตัดแสง Blue Light เสริมระหว่างทำงานด้วยค่ะ มีข้อควรระวังจากรีวิวของผู้ใช้ว่า ควรทำความสะอาดให้หมดจดค่ะ เพราะสิ่งสกปรกเมื่อเคลือบเลนส์แล้วจะทำให้ความสามารถในการเก็บความชุ่มชื้นลดลง จนทำให้ตาแห้งได้ค่ะ
เมื่อพูดถึงคอนแทคเลนส์แล้ว ยี่ห้อที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักและผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำก็คือ ACUVUE ค่ะ สำหรับคอนแทคเลนส์ตัวนี้ ด้วยตัววัสดุที่เป็น Silicone Hydrogel พร้อมผสานเทคโนโลยี HydraMax ทำให้ดวงตามีความรู้สึกชุ่มชื้นสูง และออกซิเจนซึมผ่านได้ง่าย รีวิวส่วนใหญ่บอกว่าสวมใส่สบายตา ไม่แห้งง่าย และข้อดีที่สุดของคอนแทคเลนส์รายเดือนตัวนี้ คือ บอกรายละเอียดการกันรังสี UV-A 93.4% และ UV-B 99.8% ซึ่งทำให้อุ่นใจได้ว่าดวงตาของเราได้รับการปกป้องจากแสงอาทิตย์อย่างแน่นอนค่ะ
คอนแทคเลนส์รุ่นนี้มีข้อดี คือ ราคาที่ย่อมเยา Water Content จัดว่าอยู่ในระดับที่ดี ค่าสายตามีตั้งแต่ระดับ 0.00, -0.75 ถึง -12.00 ได้รับการรีวิวว่าสวมใส่สบาย ไม่มีปัญหาใด ๆ แต่คอนแทคเลนส์รุ่นนี้ไม่ระบุค่าการซึมผ่านของออกซิเจนและความสามารถในการกันรังสี UV ดังนั้นจึงไม่ควรจ้องมองแสงสว่างนาน ๆ คอนแทคเลนส์ตัวนี้ทำจากวัสดุ Hema ซึ่งเป็นพลาสติกที่นิ่ม มีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำและออกซิเจนซึมผ่านได้ดี เป็นวัสดุหนึ่งที่ใช้กันมากในผลิตภัณฑ์คอนแทคเลนส์ แต่มีข้อจำกัดของวัสดุ คือ ต้องแช่ให้เลนส์อิ่มน้ำก่อน ถึงจะนำมาใส่เข้าดวงตาได้อย่างสะดวก ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะทำให้เลนส์นิ่มย้วย ไม่สามารถใส่เข้าตาได้นะคะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับบทความในครั้งนี้ ทางทีมงานได้รวบรวมข้อมูลของวิธีการเลือกซื้อและแนะนำผลิตภัณฑ์คอนแทคเลนส์รายเดือนที่ขายดี และสามารถซื้อออนไลน์ได้กันไปเรียบร้อยแล้ว
คอนแทคเลนส์รายเดือนนั้นมีข้อดี คือ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและจำวันที่ต้องเปลี่ยนเลนส์ได้ง่าย แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าการใช้งานคอนแทคเลนส์รายเดือนนั้นจำเป็นต้องถอดล้างรักษาความสะอาดให้ดีที่สุดทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับดวงตาค่ะ หวังว่าคุณผู้อ่านจะได้รับความรู้และสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจ ตรงกับความต้องการได้นะคะ